Knowledge Center

3 ข้อหลัก ความปลอดภัยในการตรวจสอบอาคารสูง

| Leave a Comment

การตรวจสอบอาคารที่สูงยิ่งต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาแบบเฉพาะทาง  ระบบประกอบอาคารที่ซับซ้อนต้องมีเครื่องมือเฉพาะทางในการตรวจสอบ ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีจำนวนอาคารที่มีความสูงมากกว่า 150 เมตร มากเป็นอันดับ 10 ของโลก (ข้อมูลจาก Council on Tall Building and Urban Habitat) การดูแลอาคารสูงด้วยความเชี่ยวชาญจึงมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน โรงแรม หรือที่พักอาศัยก็ตาม การดูแลระบบอาคารไม่ได้คุณภาพทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ล้วนเป็นบทเรียนสำคัญในการเรียนรู้ โดยเราเห็นได้จากภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากมาย อาทิ เช่น ลิฟต์ค้าง ไฟไหม้ น้ำรั่ว หรือรอยร้าวรอบอาคารที่ไม่เคยได้รับการตรวจสอบ เป็นต้น เพราะเหตุการณ์เหล่านี้อาจส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้คนเป็นจำนวนมาก นั่นหมายความว่าโครงสร้างอาคารต่างๆ ต้องมีมาตรฐานในการก่อสร้างมีความแข็งแรงตามหลักวิศวกรรม รวมถึงได้รับการตรวจสอบอาคารตามที่กฎหมายกำหนด และมีขั้นตอนในการรับมือจากภัยพิบัติดังกล่าวที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคตอย่างมืออาชีพ   ทัช พร็อพเพอร์ตี้ ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจด้านระบบวิศวกรรมอาคาร ดูแลพื้นที่และอาคารหลากหลายประเภทธุรกิจตั้งแต่สถาบันการเงิน อาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ด้วยประสบการณ์ในการดูแลอาคารขนาดใหญ่จึงมีข้อแนะนำให้มีการตรวจสอบอาคารอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำปีทุกปี และมีการตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด  ซึ่งเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารทำการตรวจสภาพอาคารตามระยะเวลาที่กำหนด โดยองค์ประกอบของการตรวจสอบและดูแลอาคารมี 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร  ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร และประชาชนโดยรอบอาคารเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรก ดังนั้นการตรวจสอบอาคารยิ่งต้องเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ทุกระบบต้องปลอดภัยและพร้อมใช้งาน ทำงานได้ตามปกติ ทัชฯ จึงมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ มากกว่าการตรวจสอบตามรอบประจำปี แต่การตรวจและบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ด้วยการวางแผนดูแลและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เครื่องจักรของระบบประกอบอาคาร แบบป้องกันก่อนเกิดการชำรุด ขัดข้อง หรือเกิดเหตุอันตรายกับผู้ใช้งาน  เพราะหากอาคารขาดความแข็งแรงปลอดภัย จะทำให้อาคารเกิดการโค่นหรือทรุดตัว และพังทลายลงมาในที่สุด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างของอาคารเกิดความเสียหายนั้นอาจเกิดได้จากการที่อาคารดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ ที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ  เช่น อัคคีภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว หรือมีการต่อเติม ดัดแปลงอาคารที่มีอยู่เดิม และเกิดจากการขาดการบำรุงรักษาอาคารอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง  ทั้งหมดนี้จึงต้องมีการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกอาคารเป็นประจำ โดยทีมวิศวกรที่ผ่านการรับรองเพื่อตรวจสอบและระบุปัญหาต่างๆ เช่น รอยร้าว การรั่วไหล หรือความเสียหายของหลังคา ผนัง หรือฐานราก ช่วยให้สามารถตรวจจับปัญหาต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และจัดการปัญหาได้ก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายหลังความเสียหาย ค่าซ่อมแซมที่จะตามมาอีกด้วย 2. ความปลอดภัยของระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร  อุปกรณ์ที่เห็นว่าปกติดี แท้จริงแล้วยังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัยจริงไหม?

Read more »

Knowledge Center

เคล็ดลับการควบคุมคุณภาพน้ำประปาในอาคารให้สะอาดและปลอดภัย

| Leave a Comment

การปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ใช้งานอาคารเป็นเรื่องใหญ่ จากกรณีข่าวพบเชื้อปรสิตปนเปื้อนในถังเก็บน้ำคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ส่งผลให้ลูกบ้านกว่า 100 รายติดเชื้อเยื่อบุตาอักเสบ สร้างความตื่นตระหนก และกังวลให้กับผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมทั่วประเทศ ทำให้คอนโดมิเนียมหลายๆ โครงการตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมคุณภาพน้ำประปามากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เพียงแค่เฉพาะคอนโดมิเนียมเท่านั้น แต่รวมถึงอาคารสำนักงาน และอาคารประเภทอื่นๆ ก็จะเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพน้ำประปาเช่นกัน ทัช พร็อพเพอร์ตี้ (Touch Property – Total Engineering Solution) เข้าใจถึงความสำคัญของสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ใช้งานอาคาร รวมถึงความกังวลของเจ้าของอาคาร จำเป็นต้องใส่ใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสมต่อการใช้งานอาคาร เช่น คุณภาพของน้ำที่ใช้ภายในอาคาร ระบบไหลเวียนอากาศภายในอาคาร ปริมาณฝุ่น รวมไปถึงระบบปรับอากาศภายในอาคารที่ต้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องของ คุณภาพของน้ำที่ใช้ภายในอาคาร จำเป็นที่ต้องมีการดูแลควบคุณภาพน้ำประปา ตรวจสอบ ล้างถังน้ำดี ทัชฯ จึงแนะแนวทางเบื้องต้นในการดูแลรักษาคุณภาพน้ำประปาภายในอาคารให้มีคุณภาพต่อการใช้งาน ดังนี้ ขั้นตอนการล้างถังเก็บน้ำ :  การควบคุมคุณภาพน้ำประปาในอาคารต่างๆ  นั้นสามารถทำได้ ด้วยการตรวจสอบความพร้อมต่างๆของถังเก็บน้ำอย่างสม่ำเสมอ เช่น มีการปิดฝาบ่ออย่างมิดชิด มีการทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบถังเก็บน้ำ ก็จะช่วยให้เพิ่มความมั่นใจในการใช้น้ำประปาภายในอาคาร โครงการที่พักอาศัยแบบไร้กังวลหายห่วง  โดยไม่ใช่เพียงแค่ขั้นตอนการล้างถังเก็บน้ำดีเท่านั้น การสำรวจ ตรวจสอบ ระบบบำบัดน้ำเสียว่ามีจุดใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ หากมีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข การใช้ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงที่มีฝีมือและมีประสบการณ์ในการปรับปรุงระบบวิศวกรรมอาคารก็สำคัญมากเช่นกัน สำหรับโครงการอาคารที่อยู่ภายใต้ความดูแลของ ทัชฯ สามารถสบายใจหายห่วงได้  ทัชฯ มีมาตรฐานในการตรวจสอบประเมินความเสี่ยงทุกขั้นตอนของการทำงานเป็นมาตรฐานพร้อมมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมการทำงาน (Monitor Progress) และติดตามงานอย่างใกล้ชิด (Follow Up)  พร้อมทั้งยังคงมุ่งมั่นเดินหน้ายกระดับมาตรฐานการทำงานในงานบริหารระบบวิศวกรรมอาคารให้ได้รับคุณภาพระดับสากลที่ครอบคลุมทุกด้าน TOUCH the best practice with trusted resultsรตรวจสอบ ปรับปรุง บำรุงรักษา และพัฒนาคุณภาพอาคารปรึกษา ทัช ให้ผลลัพธ์ที่คุณวางใจ

Read more »

Knowledge Center

ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ โซลูชั่นที่ตอบโจทย์เจ้าของอาคาร

| Leave a Comment

อาคาร ตึกสูงใหญ่ ยิ่งพื้นที่กว้าง ยิ่งต้องใช้พลังงานและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารที่มากขึ้นตามขนาดพื้นที่ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมค่าไฟฟ้าของอาคารสูงตึกใหญ่ถึงสูงมาก?  เคยเข้าไปในตึกบางแห่งแล้วรู้สึกอึดอัดและไม่สบายตัวหรือเปล่า? ทั้งหมดนี้อาจเกิดจากอากาศภายในอาคารที่ไม่ไหลเวียน หรือระบบปรับอากาศที่ไม่มีประสิทธิภาพ ที่นอกจากจะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้งานอาคารแล้ว ยังส่งผลต่อต้นทุนด้านพลังงานที่สูง และการใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้ยังสามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย การสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนสูงถึง 40% จากการก่อสร้าง และการใช้งานอาคาร ดังนั้นสำหรับเจ้าของอาคารยุคใหม่ ผู้บริหารองค์กร จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่อโลกที่ดีกว่าให้คนรุ่นต่อไป  ทัช พร็อพเพอร์ตี้ ด้วยประสบการณ์ในการบริหารระบบวิศวกรรมอาคารครบวงจรกว่า 17 ปี  ได้มีแนวคิดด้านการจัดการพลังงานในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพ นั้นถือเป็นภาระงานระยะยาวที่ต้องมีความต่อเนื่อง เป็นการคิดและกระบวนการจัดการแบบเป็นองค์รวม โดยมีภาระงานที่เริ่มจากการเสนอให้มีการกำหนดนโยบายการใช้พลังงานในอาคาร/องค์กร การสำรวจระบบวิศวกรรมอาคารต่างๆ ภายในอาคาร การจัดทำแผนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบวิศวกรรมอาคาร การจัดทำแผนบำรุงรักษาระบบวิศวกรรมอาคาร ที่ส่งเสริมสอดคล้องกับการใช้พลังงาน เพื่อหาโซลูชันที่เหมาะสมมาดูแลในเรื่องมาตรการลดการใช้พลังงานในกระบวนการต่างๆ Energy Efficiency มากกว่าเพียงการมุ่งลดทอนปริมาณการใช้พลังงานหรือค่าไฟลงให้มากที่สุด โดยระบบที่มักจะช่วยลดการใช้พลังงานอย่างชัดเจนมีดังนี้ 1. ระบบบริภัณฑ์ไฟฟ้า  อาจจะมีการสำรวจและวางแผนการทำงาน โดยดำเนินการปรับเปลี่ยนแผนงานบำรุงรักษาประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพของอุปกรณ์ และพิจารณานำเสนอปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในบางระบบโดยใช้หลัก Life cycle เพื่อป้องกันปัญหาและผลกระทบต่อการใช้งานอาคาร  และมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ในอาคาร อาทิ  2. ระบบปรับอากาศ มีการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารให้เหมาะต่อการใช้งาน ใช้ระบบอัตโนมัติเปิด – ปิดแอร์กำหนดเวลาการใช้งานตามผู้ใช้ โดยปกติอาคารใช้งานเป็นระบบหล่อเย็น ซึ่งบางอาคารอาจเป็นรุ่นเก่า ที่อาจมีการใช้พลังงานมากเกินกว่าความจำเป็น ทัชฯ จะเข้าไปศึกษาระบบฯ จัดเก็บข้อมูล รวมทั้งหาเทคโนโลยีใหม่ๆ และแนวทางที่เหมาะสม สำหรับเข้ามาช่วยในการจัดการพลังงาน  ซึ่งระบบที่ใช้พลังงานสูงมากที่สุดของระบบวิศวกรรมอาคาร คิดเป็น 40% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในอาคารคือ “ระบบปรับอากาศ” การนำระบบ VSD ( Variable Speed Drive ) มาใช้ในการควบคุมการทำงานเพิ่มเติมในการเดินระบบน้ำระบายความร้อน Cooling Tower ให้ทำงานสอดคล้องกับการทำงานของระบบปรับอากาศในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ จึงตัวการสำคัญที่ทำให้ลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจำนวนมากโดยไม่จำเป็น 3. ระบบบำบัดน้ำเสีย  น้ำเสียจากอาคารที่มีผู้ใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอนโด ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน เป็นต้น มีความสกปรกสูงกว่าอาคารบ้านเรือนทั่วไป เนื่องจากมีน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมที่หลากหลายกว่า จะต้องได้รับการบำบัดก่อนระบายสู่สิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปแล้วระบบที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากอาคาร มีทั้งการบำบัดทางกายภาพ

Read more »

To top